Get Adobe Flash player

“ยุคเศรษฐกิจดิจิตอล” ผนึกกำลังพลิกมิติภาคเกษตรไทยสู่ หนุนประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา-ไอที ยกระดับเกษตรกรสู่ “เกษตรอัจฉริยะ 4.0′

ผนึกกำลังพลิกมิติภาคเกษตรไทยสู่ “ยุคเศรษฐกิจดิจิตอล”หนุนประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา-ไอทียกระดับเกษตรกรสู่ “เกษตรอัจฉริยะ 4.0′

   

กระทรวงเกษตรฯจับมือ 5 หน่วยงานลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ โครงการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่   โดยยึดศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงฯพื้นกว่า 1.3พันไร่เป็นพื้นที่ต้นแบบประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา-ไอทีสมัยใหม่พัฒนาเกษตรกรไทยสู่ “เกษตรอัจฉริยะ4.0′  และผลักดันเป็นศูนย์กลางเรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ครบวงจรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรรองรับเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในอนาคต


 

 

 

 

 

 

 

 

วันนี้(24 พค.61) ณ.ศูนย์บริการพัฒนาปลวกแดง

ตามพระราชดำริจังหวัดระยอง อ.ปลวกแดง จังหวัดระยอง ได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ 6 ฝ่าย นำโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จังหวัดระยอง และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) เพื่อร่วมกันพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ในศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงฯ เป็นศูนย์กลางเรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ครบวงจรและแหล่งท่องเที่ยวเชิง

เกษตรรองรับเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)ในอนาคต

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   เพื่อสนองนโยบายเกษตรกรยุค 4.0 ของรัฐบาล และเตรียมความพร้อมการพัฒนาภาคเกษตรไทยเพื่อก้าวไปสู่ (Agricultire Digital Transform) ยุคเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ซึ่งเป็นบทบาทและภารกิจสำคัญของกระทรวงเกษตรฯ โดยการสร้างเกษตรกร Digital Farmers ให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการและความแตกฉานด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่  เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ และคุณค่าทางโภชนาการของสินค้าเกษตร ซึ่งจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และส่งมอบโภชนาการที่ดีให้แก่ผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต  จึงได้ผลักดันศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดาริจังหวัดระยอง   ให้เป็นศูนย์กลางเรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ครบวงจร  และเป็นพื้นที่ต้นแบบในการนำศาสตร์พระราชาประยุกต์ใช้กับไอทีสมัยใหม่เพื่อพัฒนาภาคเกษตรไทยก้าวสู่ “เกษตรอัจฉริยะ4.0′  และเป็นNational  Agricultural  Innovation  Center  สำหรับให้เกษตรกรที่ต้องการความรู้ ได้รับความรู้และเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้พร้อมรับการเกษตรสมัยใหม่  ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการจัดการความรู้ และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง ผ่านการจัดแสดงเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ (Show Case) การวิจัยและทดลองเพื่อขยายผล (Laboratory) การเรียนรู้ประสบการใหม่จากของจริง (Sand Box & Phenomenon Based Learning)   สำหรับจุดเด่นของศูนย์ฯนี้ในอนาคตคือ

– การจัดแสดงเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ (Show Case) ด้านพืช สัตว์ และประมง เช่น เทคโนโลยีการเตรียมการเพาะปลูก การหว่านลงเมล็ด การเก็บเกี่ยว โดยเครื่องจักรเข้าช่วยในทุกขึ้นตอน ไม่ว่าจะเป็นรถไถหว่าน รถแทรคเตอร์ ซึ่งมีระบบเชื่อมสัญญาณดาวเทียม  เข้าไปในรถเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการตรวจจับแปลงเพาะปลูกและสำรวจสภาพอากาศของพื้นที่เกษตรนั้นๆ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มการคำนวณระยะการเก็บเกี่ยวที่แม่นยำขึ้น

-เทคโนโลยีการตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำ โดยอุปกรณ์เซนเซอร์ที่คอยตรวจจับสภาพของต้นไม้ ว่าต้นไม้ได้รับน้ำหรือแสงแดดเพียงพอหรือไม่ หรือสภาพของดินดีหรือเปล่าเทคโนโลยีการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช โดยระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายใต้ระบบเครือข่ายเซนเซอร์ไร้สายและอัลกอริทึมสำหรับพยากรณ์ล่วงหน้า โดยสามารถดูสภาพอากาศของฟาร์มเพื่อทำนายการเกิดโรคหรือศัตรูพืชของฟาร์มได้ เครื่องนี้จะคอยดูตัวชี้วัดทางธรรมชาติต่างๆ จากนั้นถ่ายทอดข้อมูลเซนเซอร์ไปยังศูนย์กลางข้อมูลที่จัดไว้เป็นในชุดของอัลกอริทึม ผู้ใช้อ่านผลได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน

– เทคโนโลยีการสำรวจทางอากาศเพื่อหาความผิดปกติ โดยอุปกรณ์การบิน Drone ที่ติดตั้งเซนเซอร์ต่างๆ ได้แก่ เซนเซอร์การมองเห็น, เซนเซอร์ multi-spectrum, เซนเซอร์อุณหภูมิและ LIDAR ที่สามารถวัดความสูงที่เติบโตขึ้นของพืชผล ต้นไม้ โดยไม่ต้องใช้คนควบคุม

-เทคโนโลยีการควบคุมคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและกรขนส่งสินค้าเกษตร โดยการวิจัยพัฒนาใช้โอโซนเข้าช่วย ซึ่งโอโซน (O3) จะทำการออกซิไดซ์การเน่าและจุลิทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคส่งผลให้การเน่าของผลิตภัณฑ์ลดลง  ทั้งยังช่วยเอาก๊าซเอธิลีนออก ซึ่งช่วยควบคุมการสุกของผลไม้ได้ รวมทั้งระบบการติดตามการขนส่งสินค้าได้แบบ real-time ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทาง

– เทคโนโลยีการเกษตรแนวตั้ง หรือ Vertical Farm  การปลูกพืชเป็นชั้นๆ มีการให้น้ำ อาหาร และแสง   เพื่อจัดทำข้อมูลสร้างระบบการดูแลรักษาที่ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ในโรงเรือนที่มีหลังคา ไม่จำกัดฤดูกาล และสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

– เทคโนโลยี Farmbot หรือ ระบบปลูกพืชอัตโนมัติ เป็นระบบปลูกพืชอัตโนมัติได้หลายชนิด ปลูกเอง รดน้ำเอง กำจัดวัชพืชเอง สั่งการและควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ผ่านซอฟต์แวร์ไปควบคุมเซนเซอร์

-เทคโนโลยีในฟาร์มปศุสัตว์ เช่น Livestock Activity Monito เพื่อติดตามตรวจวัดการเคลื่อนไหว การกินอาหาร การเดิน ระบบการวิเคราะห์การหายใจของฟาร์มโคนม เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการสูญเสียจากความเสี่ยงด้านโรค และต้นทุนอาหาร   เป็นต้น

   

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   กล่าวเสริมว่า “ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอลจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ซึ่งกระบวนการผลิตสินค้าจะเชื่อมต่อกับความต้องการของผู้บริโภคโดยตรงการใช้ความรู้สมัยใหม่จะกลายเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปัจจุบันให้เติบโต มั่งคง และการสร้างงานในทุกการผลิต  ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ คาดหวังว่า “โครงการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ในศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงฯ จะเป็นพื้นที่ต่อเติมความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ไปสู่ภาคการปฏิบัติจริงของเกษตรกร รวมทั้งสร้างความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีทำการเกษตร พัฒนาตนเองเป็น Digital Citizen และสร้าง Social Movement ที่สามารถอยู่ร่วมระบบเศรษฐกิจดิจิตอลได้อย่างมั่นคงในอนาคต”

บก.ธรรญธร เพ็งขุนทด

 

หนังสือพิมพ์ รวมพลัง
ผู้สนับสนุน

กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม
RPTV ข่าวสารเข้มข้น เพื่อคนตะวันออก
Blog Stats
  • 27,910 hits
Blog Stats
  • 27,910 hits