Get Adobe Flash player

โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ร่วมกับ ชุมชนกรอกยายชา สืบสานประเพณีบุญข้าวหลาม สักการะศาลเจ้าแม่เกษร

โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ร่วมกับ ชุมชนกรอกยายชาสืบสานประเพณีบุญข้าวหลาม สักการะศาลเจ้าแม่เกษร

โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3  โดย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (กนอ.) สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร.) และ บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (GMTP) และ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเว๊ล๊อปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ITD) ร่วมสนับสนุนสืบสานประเพณีบุญข้าวหลามชุมชนกรอกยายชา จะจัดขึ้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3  หรือ บุญเดือน 3

เป็นการอนุรักษ์สืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นประจำทุกปี  ชุมชนกรอกยายชา นอกจากประเพณีการเผาข้าวหลาม ดังกล่าว ยังมีพิธีการกราบไหว้สักการะบูชา ศาลเจ้าแม่เกษร ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์ที่เคารพบูชาของชาวกรอกยายชาและคนระยองมาแต่โบราณ การเผาข้าวหลามและการทำพิธีทำบุญจะมีการจัด ณ ศาลา ศาลเจ้าแม่เกสร เป็นประจำทุกปี

กิจกรรมในวันนี้ นายจำเนียร อ่องละออ ประธานชุมชนกรอกยายชา และ นางรัตนาภร์ รอดพ้น กรรมการฝ่ายพัฒนาชุมชนและชาวชุมชน ร่วมกันเผาข้าวหลามแบบโบราณ โดยมี โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3  โดย นายศุภฤกษ์ โสภณราพงษ์  นางกัณณณัฏฐ์ รักษาวงศ์  นายสมชาย พงษ์เทพิน บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพีฯ (GMTP) นางปราณิสา สูงเนิน บริษัท อิตาเลียนไทยฯ (ITD) เข้าสนับสนุนและร่วมกิจกรรม

นายจำเนียร อ่องละออ ประธานชุมชนกรอกยายชา กล่าวว่า บุญข้าวหลามหรือบุญเดือน 3 เป็นการเผาข้าวหลามที่ชุมชนทำเป็นแบบโบราณ วิธีการมีการแช่ข้าวสารเหนียวค้างคืน  เตรียมกะทิ เครื่องปรุง เกลือผสมเพื่อใส่ในกระบอกไม้ไผ่ การจัดเตรียมพื้นที่เผาที่ดินเป็นแนวยาวเพื่อฝังวางกระบอกไม้ไผ่ที่จะเผาเรียงเป็นแถวตามแนวยาว อาจเป็น 2 แถวหรือ 3 แถว ตามสะดวก ด้านข้างจะเว้นระยะห่างประมาณข้างละ 60-70 เซ็นติเมตร หลังจากนั้นจะก่อไฟบริเวณกองฟืนที่วางไว้ให้ทั่วตลอดแนวเพื่อให้ไอความร้อนส่งไอความร้อนไปที่กระบอกข้าวหลามจนร้อนระอุค่อยๆสุกทีละน้อยต้องคอยสังเกตข้าวจะพองตัวไอความร้อนและมีไอระเหยขึ้นมาควรให้เป็นไฟปานกลางจะพอดี การเผาจึงใช้เวลาถึง 3-5 ชั่วโมงเลยทีเดียว และ ต้องคอยดูไปให้ไหม้ฟืนอย่างสม่ำเสมอและคอยเขี่ยฟืนที่ไหม้แล้วไฟอ่อนลงให้ชิดใกล้กระบอกข้าวหลามมากขึ้นให้ระดับความร้อนที่พอเหมาะ

นางรัตนาภร์ รอดพ้น กรรมการฝ่ายพัฒนาชุมชน และชาวชุมชนกรอกยายชา เล่าถึงประวัติความเป็นมาของเจ้าแม่เกษร ซึ่งเป็นเจ้าแม่ที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านเมืองมาแต่โบราณกาล ซึ่งในเขตมาบตาพุด เนินพระและระยอง จะมีศาลเจ้าแม่ 7 แห่ง และเจ้าแม่เกษร เป็น 1 ใน 7 ที่เป็นที่เคารพสักการะเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวชุมชนและคนระยอง  หลักธรรมสำคัญ คือให้ทำความดีละเว้นการทำชั่ว และเจ้าแม่จะปกปักรักษาคุ้มครองประชาชนลูกหลานในชุมชนให้รอดพ้นภยันตรายต่างๆ มีคนมากราบไหว้ขอพร มักประสบผลสำเร็จและมีการมาแก้บนโดยนำชุดสไบมาถวาย และ การนำการแสดง เช่น หนังตะลุง การรำ ฯลฯ มาถวายท่านเมื่อพรสัมฤทธิ์ผล ที่ศาลาศาลเจ้าแม่เกษร เป็นประจำ และ มีชื่อเสียงในการให้โชคลาภแก่ผู้ที่มากราบไหว้ด้วยมีผู้คนเวียนมาสักการะเป็นประจำ

ซึ่งขอเชิญผู้ที่มาระยองหรือชาวระยองมากราบไหว้ เจ้าแม่เกษร  สักการระสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่ชุมชนกรอกยายชาได้ นอกจากกนี้ที่กลุ่มวิสาหกิจของชุมชนฯ ยังมีอาหารหลายอย่างบริการสั่งทำได้ ทั้งอาหารทะเล จ๊อปู ผัดหมี่ระยอง ผลไม้มะม่วงอร่อยขึ้นชื่อปลูกบนดินทรายพื้นที่กรอกยายชา เป็นต้น  ติดต่อ โทร 099-346-1695  รัตนาภร์ รอดพ้น

หนังสือพิมพ์ รวมพลัง
ผู้สนับสนุน

กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม
RPTV ข่าวสารเข้มข้น เพื่อคนตะวันออก
Blog Stats
  • 27,742 hits
Blog Stats
  • 27,742 hits