Get Adobe Flash player

GC เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งตามกลยุทธ์ Step Change ลงนามสัญญาปรับปรุงโรงโอเลฟินส์ หน่วยที่ 2 กับ บริษัท ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง

GC เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งตามกลยุทธ์ Step Change ลงนามสัญญาปรับปรุงโรงโอเลฟินส์ หน่วยที่ 2 กับ บริษัท ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง เพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบ ต่อยอดสู่ธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564  GC จัดพิธีลงนามสัญญาโครงการปรับปรุงโรงโอเลฟินส์หน่วยที่ 2 (Olefins 2 Modification Project: OMP) ระหว่าง GC, บริษัท ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศเกาหลีใต้) จำกัด และ บริษัท ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ในรูปแบบ Virtual รับวิถี New Normal โดยเชื่อมต่อสัญญาณ 3 สถานี จากศูนย์ CSC กรุงเทพฯ ไปที่ ห้องดารารัตน์ สำนักงานระยอง และ ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง ประเทศเกาหลีใต้

โดยมี ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GC คุณซอง อัน ชอย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศเกาหลีใต้) คุณซัง อุ๊ค ลี กรรมการผู้จัดการ ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) คุณปฏิภาณ สุคนธมาน ผู้จัดการใหญ่ คุณวริทธิ์ นามวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ-กลุ่มปฏิบัติการเพื่อความเป็นเลิศ คุณทศพร บุณยพิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น คุณพรรคพงษ์ วังรัตนโสภณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลุ่มผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ คุณวิลาวัลย์ สงเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานจัดหา คุณคมสัน ปิยะวัฒนวิโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารโครงการที่เป็นเลิศ ดร.ชญาน์ จันทวสุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความยั่งยืนและภาพลักษณ์องค์กร และผู้บริหาร GC เข้าร่วมแสดงความยินดี และเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามฯ ผ่านทั้ง 3 สถานี

โครงการ OMP ดำเนินการภายใต้กลยุทธ์ Step Change ของ GC เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้โพรเพนเป็นวัตถุดิบ และสร้างมูลค่าเพิ่มไปยังธุรกิจปลายน้ำ อีกทั้งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทฯ โดย GC ได้ลงนามสัญญาออกแบบวิศวกรรม การจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 โดยมีมูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 165 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 5,198 ล้านบาท

การปรับปรุงโรงโอเลฟินส์หน่วยที่ 2 ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นี้ เป็นการก่อสร้างและบริหารโครงการแบบครบวงจร (EPC) โดยมีอุปกรณ์หลักคือ ส่วนเพิ่มเติมของหอกลั่น (ความสูง 100 ม. C3 Splitter)

เป็นการก่อสร้างและบริหารโครงการแบบครบวงจร (EPC) โดยมีอุปกรณ์หลักคือ ส่วนเพิ่มเติมของหอกลั่น (ความสูง 100 ม. C3 Splitter)

รายงานข่าว/ธรรญธร เพ็งขุนทด

หนังสือพิมพ์ รวมพลัง
ผู้สนับสนุน

กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม
RPTV ข่าวสารเข้มข้น เพื่อคนตะวันออก
Blog Stats
  • 27,756 hits
Blog Stats
  • 27,756 hits