Get Adobe Flash player

ผนึกกำลังจัดการยาเสพติด 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง

1450394497401IMG_25581204_092338 1450394495736 1450394494542

6 ประเทศแม่น้ำโขง ผนึกกำลังจัดการยาเสพติด

6 ประเทศแม่น้ำโขง ประชุมปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัยในระดับรัฐมนตรี และกำหนดให้มีการประชุมร่วมกันอีกเป็นประจำทุกปีเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาการลักลอบค้าและลำเลียงยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดในลำน้ำโขง รวมถึงกำหนด ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการจัดการปัญหายาเสพติดร่วมกัน หวังพัฒนาประสทิธิภาพในการจัดการยาเสพติด

พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านยาเสพติด เรื่องแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ (Operation Safe Mekong) ระยะเวลา 3 ปี (2559 – 2561) ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พร้อมหน่วยงานผู้ร่วมสังเกตการณ์อีก 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานพิทักษ์เขตแดนแห่งออสเตรเลีย (ABF) และสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)

โดยผู้เข้าร่วมจากอีก 5 ประเทศประกอบด้วย นายอัน กั๋ว จุน รองเลขาธิการคณะกรรมาธิการควบคุมยาเสพติดแห่งชาติจีน นายกุ จันสินา ประธานคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อตรวจตราและควบคุมยาเสพติด (สปป.ลาว) พลตรี อ่อง โซ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (เมียนมา) พลตำรวจเอก เตง ซาวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (กัมพูชา) แท่านพันตำรวจโท โง แท็งห์ บิ่งห์ รองผู้อำนวยการสำนักงานตำรวจต่อต้านยาเสพติด กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ (เวียดนาม) ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 18 ธันวาคม 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำและวางแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย ระยะเวลา 3 ปี (2559 – 2561) และขยายความร่วมมือจากเดิม 4 ประเทศ เป็น 6 ประเทศ โดยเพิ่มความร่วมมือกับราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย เป็นมาตรการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างประเทศที่มีเขตแดนติดต่อกัน ในพื้นที่ที่มีปัญหาการลักลอบผลิตและลำเลียงยาเสพติด ที่ได้มีการปฏิบัติร่วมกันของ 4 ประเทศ คือ จีน ลาว เมียนมา และไทย จากการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ส่งผลให้เกิดการจับกุมปราบปรามยาเสพติดได้เป็นจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และรัฐมนตรีทั้ง 4 ประเทศ มีมติร่วมกันว่า ในปี 2559 จะต้องยกระดับความร่วมมือให้มากยิ่งขึ้น ครอบคลุมขอบเขตปัญหาให้มากยิ่งขึ้น ขยายประเทศที่เข้าร่วมไปยังอีก 2 ประเทศ คือ ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และจัดทำเป็นแผนให้มีความต่อเนื่องระยะยาว เพื่อให้เป็นแผนยุทธศาสตร์ในภูมิภาคนี้อย่างแท้จริง

พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำถือเป็นพื้นที่แหล่งผลิตยาเสพติดที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จากการประมาณการปริมาณยาเสพติดที่มีการลักลอบผลิตในพื้นที่นี้ ในแต่ละปีมีการผลิตฝิ่น 673 ตัน เฮโรอีน 50 ตัน ไอซ์ 20 ตัน

หนังสือพิมพ์ รวมพลัง
ผู้สนับสนุน

กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม
RPTV ข่าวสารเข้มข้น เพื่อคนตะวันออก
Blog Stats
  • 27,820 hits
Blog Stats
  • 27,820 hits